วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Leaning Log 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 
   เพื่อนแต่ละคนได้ออกมานำเสนอคลิปVDOการทดลองวิทยาศาสตร์จากบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย(ประเทศไทย)



การทำcooking โดยบูรณาการเข้ากับSTEM และ STEAM 

STEM
S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technology)
E=วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
M=คณิตศาสตร์(Math)

STEAM

S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technology)
E=วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
A=ศิลปะ (Art)
M=คณิตศาสตร์(Math)





การตั้งประเด็นปัญหา: เราจะทำยังไงให้เกีียวกินได้
สมมุติฐาน: ถ้าเรานำเกีียวไปทอดเกีียวจะสุกกินได้
การทดลอง: นำเกี๊ยวลงไปทอด ให้เด็กลองเอาเกี๊ยวใส่น้ำมันทีละคน ครูต้องบอกให้เด็กระวังน้ำมันกระเด็นใส่ด้วย ให้เด็กสังเกตดูว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
สรุป: ถ้าเรานำเกี๊ยวไปทอดเกี๊ยวจะมีสี กลิ่น เปลี่ยนไป และเกี๊ยวจะสุกกินได้ และถ้าเราใช้ไฟที่แรงไปเกี๊ยวของเราก็จะไหม้ได้
          เมื่อแต่ละกลุ่มทอดเกี๊ยวเสร็จแล้วก็มีการนำเกี๊ยวของกลุ่มตนเองมาแลกกับเพื่อนแต่ละกลุ่ม และรับประมานร่วมกัน เมื่อรับประทานเสร็จก็มีการช่วยกันเก็บของและทำความสะอาดร่วมกัน

การประเมิน
ประเมินตนเอง :  ช่วยทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดี ช่วยเพื่อนห่อเกี๊ยวและเก็บของทำความสะอาด
ประเมินเพื่อน  : หลายกลุ่มมีการวางแผนว่าจะใส่อะไรบ้าง และช่วยกันห่อเกี๊ยวของกลุ่มตนเอง พอเกี๊ยวสุกก็มีการรับประทานร่วมกัน และช่วยกันทำความสะอาด
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้แนะนำและให้แนวทางว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และเรานำมาบูรณาการต่อยอดอย่างไรบ้าง

Leaning Log 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 


วันนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยที่สอนในโรงเรียน และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการเขียนรายละเอียดอย่างถูกต้อง เรื่องการวางแผนซึ่งใช้ STEM เข้ามาช่วย โดยอาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อไปปรับปรุงดังนี้


เรื่อง หมึก



เรื่อง ไข่



เรื่อง ข้าว



เรื่อง น้ำ


นำสาระการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต กระบวนการดำรงชีวิตของแต่ละหน่วย สามารถสังเกตสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้
    เช่น Mindmap หมึก ไข่ ข้าว กล้วยคือธรรมชาติรอบตัว Mindmap น้ำ คือสิ่งต่างๆรอบตัว
2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เด็กบอกได้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไหนไม่มีชีวิต
3. สารและสมบัติของสาร เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น การแปรรูป การประกอบอาหาร การเพาะขยายพันธุ์ และการทดลอง
4. แรงกับการเคลื่อนที่ คือ การทดลอง ตก จม ลอย ของสิ่งต่างๆ
5. พลังงาน คือการใช้พลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น พลังงานความร้อนทำให้ไข่สุกและกินได้
6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือแต่ละหน่วยเกี่ยวข้องอย่างไร
    เช่น อาจจะกระทบกับรายได้ อาชีพตัวอย่างเช่นการตกหมึกจะต้องอาศัยเวลากลางคืน ถ้าอยากตกหมึกได้เยอะๆอาจจะต้องอาศัยฤดูกาลที่มีกลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
7. ดาราศาสตร์และอวกาศ เกี่ยวกับกลางวันกลางคืน
8. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะต้องมี
    - คำถาม
    - สมมติฐาน
    - การทดลอง
    - สรุปผล
    - ย้อนกลับไปดูสมมติฐาน
    - รายงานผล/นำเสนอ

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำให้แก้ไขและนำไปทำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจทำงานของกลุ่มตนเองอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้แนะนำและให้แนวทางว่าต้องแก้ไข้อย่างไรบ้าง และต่างจากอันเดิมที่เราทำอย่าไรบ้าง และอาจารย์ได้ให้คำปรึกษาตามกลุ่ม

Leaning Log 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 


    จับกลุ่ม 4-5 คน ช่วยกันคิดหน่วยการเรียนรู้ที่สอนในโรงเรียนและใกล้กับตัวเด็กโดยการทำเป็นแผนผัง
โดยกลุ่มของข้าพเจ้าทำเรื่อง " หมึก "



โดยมีองค์ประกอบดังนี้
- ชนิดของหมึก
- ลักษณะของหมึก
- การดำรงชีวิตของหมึก
- ประโยชน์ของหมึก

- โทษ/ข้อควรระวัง

Leaning Log 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 

สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 




กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


Leaning Log 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 


การทดลอง ความลับของสีดำ








 

Leaning Log 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.

                    Story of Subject 


ความรู้ที่ได้รับจากการชมคลิปวิดีโอเรื่อง อากาศ ได้รับความรู้ดังนี้ 

    - อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่
    - อากาศมีน้ำหนักแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิรอบข้างว่าร้อนหรือเย็นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอากาศร้อนจะทำให้อากาศมีน้ำหนักเบาลงและอากาศจะลอยขึ้น
    - เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศจะเคลื่อนที่ออกไป  
    - เด็กจะได้รับประสบการ์ผ่านการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
    - เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์จะนำประสบการณ์ไปสู่สมองและซึมซับจดจำเอาไว้ เมื่อเด็กเจอเหตุการ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเด็กก็จะนำเอาประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นความรู้ใหม่
    - เมื่อเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้
    - เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดในสังคม
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนนำผลงานทั้งที่เป็นของเล่นเดี่ยว สื่อเข้ามุม มานำเสนอผลงานของตนเอง

Adoption


  ทำให้เราได้นำของเหลือใช้ที่มีประโยนช์มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่สามารถนำไปใช้ได้จริง



                                                           Evaluation

  ตนเอง  ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ ทำชิ้นงานส่งอาจารย์ ดูคลิป แล้วสามารถอธิบายชิ้นงานได้
  อาจารย์  คอยถามคำถามเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  สภาพแวดล้อม  เพื่อนๆต่างตั้งใจนำเสนอผลงานของตนเอง

Leaning Log 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.


                    Story of Subject 


                   วันนี้อาจารย์ให้ไปศึกษาดูนิทรรศการของพี่นักศึกษาชั้นปีที่5 สาขาการศึกษาปฐมวัย

การสอนแบบโครงการ(Project Approach)  Project ดอกดาวเรือง
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 3 ระยะ คือ
 ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อบอกว่าอยากเรียนเรื่องไหน เพราะอะไร ฟังเหตุผลของแต่ละกลุ่ม พอสรุปได้แล้วว่าเด็กอยากเรียนเรื่องดอกดาวเรือง ครูก็จะมีการถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับดอกดาวเรือง โดยครูจะเขียนลงบนแผ่นชาร์ต
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ เป็นขั้นตอนการหาข้อมูลร่วมกันโดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง
เด็กเริ่มหาข้อมูลในเรื่องของ
          🌼ถิ่นกำเนิดของดาวเรือง
          🌼ลักษณะของดาวเรือง
          🌼ส่วนประกอบของดาวเรือง
          🌼ประเภทของดาวเรือง
          🌼การเจริญเติบโตของดาวเรือง
          🌼ประโยชน์ของดาวเรือง
ความร่วมมือจากผู้ปกครองโดยมีคุณพ่อน้องภูริมาเป็นวิทยากรสาธิตการปลูกดาวเรือง
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมกันสรุปโครงการ มีการทำการ์ดเชิญผู้ปกครองและเพื่อนร่วมระดับชั้นมาดูโครงการด้วย



      การจัดการเรียนรู้เสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง"ศาสตร์ของพระราชา"
ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้
          -ถิ่นกำเนิดของดาวเรือง
          -ลักษณะของดาวเรือง
          -ส่วนประกอบของดาวเรือง
          -ประเภทของดาวเรือง
          -การเจริญเติบโตของดาวเรือง
          -ประโยชน์ของดาวเรือง
         -วิธีการปลูกดาวเรือง
คุณธรรม
         -การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
         -มีการวางแผนและลงมือปฎิบัติ
         -ใฝ่หาความรู้
         -เผื่อแผ่และแบ่งปัน
พอประมาณ
         -การลดน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงอายุของดาวเรือง
มีเหตุผล
         -เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ
มีภูมิคุ้มกัน
         -ทำให้ต้นดาวเรืองไม่เน่าหรือแห้งตาย

ผลลัพธ์ที่เกิดจากการทำโครงการนี้ส่งผลให้ชีวิตของตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง/หน่วยงาน/สถานที่เกิดความสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน4มิติ
ด้านเศรษฐกิจ/วัตถุ
⇨ดาวเรืองใช้ทำยาไล่แมลง
⇨ดาวเรืองปลูกขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
⇨ดาวเรืองใช้ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
⇨ดาวเรืองใช้ทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ
ด้านสังคม
⇨การแบ่งปัน
⇨การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
⇨รู้จักใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสิ่งแวดล้อม
⇨การใช้ดาวเรืองทำยาไล่แมลงไม่มีผลกระทบต่อคนและสัตว์
⇨การนำดาวเรืองใช้ทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติทำให้ไม่เกิดมลพิษทางน้ำ
ด้านวัฒนธรรม
⇨การนำดอกดาวเรืองมาใช้ในการประกอบพิธีต่างๆ
⇨การนำดอกดาวเรืองมาร้อยมาลัย
⇨ใช้ในการทำผ้ามัดย้อมจากธรรมชาติ




มุมอาเซียน
           เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งกายของอาเซียนแต่ละประเทศ อาหารอาเซียน ดอกไม้อาเซียน


แผนการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้

การจัดกิจกรรมเคลือนไหวประกอบเพลงที่มีผลต่อความมั่นใจในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย

แผนการสอนหน่วยขนมไทย


Adoption

             เราสามารถนำความรู้ที่ได้เพิ่มเติมในเรื่องของดาวเรืองไปใช้สอนเด็กแบบProject Approach การสอนแบบProject Approachจะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะได้ครบทุกด้าน และยังเพิ่มความรู้ในด้านของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความสมดุลพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน4มิติให้กับเด็กได้อีกด้วย

                                                          Evaluation

           เพื่อน:  เพื่อนตั้งใจฟังที่พี่นักศึกษาปี5ให้ความรู้เป็นอย่างดี เพื่อนหลายคนก็มีการถ่ายภาพ จดรายละเอียด
           ตนเอง :  ไม่ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม
           พี่นักศึกษาชั้นปีที่5 : พี่อธิบายได้เข้าใจมากและมีการเปิดโอกาสให้ซักถามเรื่อยๆ

                        *เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงเนื้อหาจาก นางสาวศุภพิชญ์ กาบบาลี *

Leaning Log8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of Subject 

   เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 3 จำนวน 15 คน
   ทักษะที่ทำการวัดมีอยู่ด้วยกัน 4 ทักษะ โดยผ่านกิจกรรม "การเกิดสีของดอกไม้"
    ทักษะการสังเกต
         → ส่วนต่างๆของดอกไม้
    ทักษะการจำแนกประเภท
        → แยกประเภทของดอกไม้
    ทักษะการหามิติสัมพันธ์
        → บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆได้
    ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
        → สรุปผลการทดลองได้

 งานวิจัยชิ้นนี้มีการออกแบบแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าแผนที่จัดขึ้นสอดคล้องกับการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์หรือไม่

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)


1.ทักษะการสังเกต (Observe)
  - ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้
  - เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการวัด (Measuring)
  - การใช้เครื่องมือวัดปริมาณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
      จะวัดอะไร → วัดทำไม → ใช้เครื่องมืออะไรวัด → วัดอย่างไร
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
   - เลือกใช้เกณฑ์ในการจำแนก
3.1 ความเหมือน    3.2 ความแตกต่าง   3.3 ความสัมพันธ์
4.ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา (Time relationship)
   - ความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง เวลา
5.ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน (Using numbers)
   - การเอาจํานวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และการทดลอง มาจัดกระทําให้เกิดค่าใหม่
6.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
   - การนําเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลองมากระทําใหม่
7.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
   - ความชำนาญในการอธิบายสิ่งที่เห็น
8.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
   - การคาดคะเนหาคําตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
    - การคิดหาค่าคําตอบล่วงหน้าก่อนจะทําการทดลอง
10.ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)
     - การกําหนดความหมาย และขอบเขตของคําต่างๆ ที่มีอย่ในสมมติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้
11.ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
     - การควบคุมสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทําให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง  (Experimenting)
     - กระบวนการปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันเพื่อหาคําตอบ หรือทดลองสมมุติฐานที่ตั้งไว้
13.ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
    - ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่ วนใหญ่จะอย่ในรูปของลักษณะตาราง การนําข้อมูลไปใช้ จึงจําเป็นต้องตีความให้สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน

สรุป VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุดความลับของแสง

   แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งทีี่วิิ่งเร็วมากและเดินทางเป็นเส้นตรง เราสามารถเห็นวัตถุรอบๆได้เพราะแสงส่องสะท้อนกับวัตถุและกระทบที่ดวงตาของเรา
  ➺ วัตถุโปร่งแสง แสงจะสามารถผ่านไปได้บางส่วน 
 ➺ วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านจนสามารถมองเห็นวัตถุได้
 ➺ วัตุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านไปได้เลย


Adoption

การสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก จำเป็นต้องอาศัยสื่อที่เป็นของจริงหรือใช้การทดลองที่สามารถรับรู้ได้จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าภาพ
                                                         

                                                           Evaluation


ตนเอง: ;วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่หลัง จึงไม่สามารถเข้าเรียนได้
อาจารย์: หาวิดีโอความรู้มาให้ดูเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อ
บรรยากาศ: ช่วงท้ายคาบ เพื่อนรู้สึกอยากรับประทานอาหารแล้วจึงไม่ค่อยตั้งใจเรียนกัน

 *เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงเนื้อหาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี*

Leaning Log 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   Sience Experiences Management For Early Childhood ...