วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Leaning Log8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of Subject 

   เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 3 จำนวน 15 คน
   ทักษะที่ทำการวัดมีอยู่ด้วยกัน 4 ทักษะ โดยผ่านกิจกรรม "การเกิดสีของดอกไม้"
    ทักษะการสังเกต
         → ส่วนต่างๆของดอกไม้
    ทักษะการจำแนกประเภท
        → แยกประเภทของดอกไม้
    ทักษะการหามิติสัมพันธ์
        → บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆได้
    ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
        → สรุปผลการทดลองได้

 งานวิจัยชิ้นนี้มีการออกแบบแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าแผนที่จัดขึ้นสอดคล้องกับการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์หรือไม่

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)


1.ทักษะการสังเกต (Observe)
  - ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้
  - เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการวัด (Measuring)
  - การใช้เครื่องมือวัดปริมาณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
      จะวัดอะไร → วัดทำไม → ใช้เครื่องมืออะไรวัด → วัดอย่างไร
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
   - เลือกใช้เกณฑ์ในการจำแนก
3.1 ความเหมือน    3.2 ความแตกต่าง   3.3 ความสัมพันธ์
4.ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา (Time relationship)
   - ความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง เวลา
5.ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน (Using numbers)
   - การเอาจํานวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และการทดลอง มาจัดกระทําให้เกิดค่าใหม่
6.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
   - การนําเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลองมากระทําใหม่
7.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
   - ความชำนาญในการอธิบายสิ่งที่เห็น
8.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
   - การคาดคะเนหาคําตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
    - การคิดหาค่าคําตอบล่วงหน้าก่อนจะทําการทดลอง
10.ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)
     - การกําหนดความหมาย และขอบเขตของคําต่างๆ ที่มีอย่ในสมมติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้
11.ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
     - การควบคุมสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทําให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง  (Experimenting)
     - กระบวนการปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันเพื่อหาคําตอบ หรือทดลองสมมุติฐานที่ตั้งไว้
13.ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
    - ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่ วนใหญ่จะอย่ในรูปของลักษณะตาราง การนําข้อมูลไปใช้ จึงจําเป็นต้องตีความให้สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน

สรุป VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุดความลับของแสง

   แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งทีี่วิิ่งเร็วมากและเดินทางเป็นเส้นตรง เราสามารถเห็นวัตถุรอบๆได้เพราะแสงส่องสะท้อนกับวัตถุและกระทบที่ดวงตาของเรา
  ➺ วัตถุโปร่งแสง แสงจะสามารถผ่านไปได้บางส่วน 
 ➺ วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านจนสามารถมองเห็นวัตถุได้
 ➺ วัตุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านไปได้เลย


Adoption

การสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก จำเป็นต้องอาศัยสื่อที่เป็นของจริงหรือใช้การทดลองที่สามารถรับรู้ได้จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าภาพ
                                                         

                                                           Evaluation


ตนเอง: ;วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่หลัง จึงไม่สามารถเข้าเรียนได้
อาจารย์: หาวิดีโอความรู้มาให้ดูเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อ
บรรยากาศ: ช่วงท้ายคาบ เพื่อนรู้สึกอยากรับประทานอาหารแล้วจึงไม่ค่อยตั้งใจเรียนกัน

 *เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงเนื้อหาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Leaning Log 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   Sience Experiences Management For Early Childhood ...