บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Sience Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of Subject
การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอตัวอย่างการสอนและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอตัวอย่างการสอนของเราเอง
โดยตัวอย่างการสอนในวันนี้มีชื่อว่า "สอนวิทย์คิดสนุก" ของ อาจารย์กรรณิการ์ เฉิน อาจารย์กรรณิการ์ได้มีวิธีการสอนโดยเริ่มต้นจากให้คุณครูระดับชั้นปฐมวัยมาสวมบทบาทเป็นเด็กเองก่อน ก่อนที่จะเริ่มทำการทดลองอาจารย์กรรณิการ์ได้ใช้คำถามถามคุณครูที่สวมบทบาทเป็นเด็กปฐมวัยเพื่อให้คุณครูได้เกิดการสังเกตสิ่งของและอุปกรณ์ที่ใช้ทำการทดลอง อาจารย์กรรณิการ์ได้อธิบายให้คุณครูว่าการตั้งคำถามนั้นถือเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดการสังเกตและสื่อสารออกมาเป็นคำพูด การตั้งคำถามเช่นนี้ทำให้เด็กได้เกิดการวิเคราะห์ โดยที่ไม่ตัดสินว่าสิ่งที่เด็กตอบนั้นถูกหรือผิด เมื่อครูถามคำถามแล้วนั้นจะเป็นการทำให้เกิดประเด็นข้อสงสัยเพื่อที่ครูและเด็กจะได้สืบเสาะหาว่าทำไมถึงเกิดปัญหานั้นๆ เพื่อการเข้าใจที่ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าจึงได้สรุปออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังนี้
ต่อมาเป็นการนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ชื่องานวิจัยว่า "การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ" โดยในแผนการสอนที่เพื่อนได้นำเสนอนั้นเป็นโครงการเรื่องถั่ว โดยการเรื่องหัวข้อโครงการนั้นควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก ซึ่งควรอิงจากสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1) ตัวเรา
2) บุคคลและสถานที่
3) ธรรมชาติรอบตัว
4) สิ่งต่างๆรอบตัว
ซึ่งการจัดโครงการนั้นต้องแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
- ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงกำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
- ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ เน้นที่กระบวนการแก้ปัญหา เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน เพราะเด็กจะได้สนทนา กับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
- ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หลังจากที่เพื่อนๆได้นำเสนอตัวอย่างการสอนและงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทั้งหมดแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน แล้วให้คิดเมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้อาหารดังนี้
- แพนเค้ก (กลุ่มตัวเอง)
- ข้าวผัดทาโกยากิ
- เกี๊ยวทอด
- พิซซ่า
- ไอศกรีมเขย่า
แล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนวัตถุดิบ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำคร่าวๆ เขียนลงในกระดาษแล้วเสนออาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง
แพนเค้ก
วัตถุดิบ
1. เเป้งแพนเค้กสำเร็จรูป
2. ไข่ไก่
3. ซอสช็อกโกแลตตกแต่ง
4. ซอสสตอเบอรรี่ตกแต่ง
5. เยลลี่
6. นมสด
อุปกรณ์
1. กระทะ
2. ช้อนคนส่วนผสม
3. ช้อนโต๊ะ
4. ถ้วยตวง
5. ถ้วย
6. จาน
ขั้นตอน
1. ให้เด็กๆตักแป้งแพนเค้งสำเร็จรูป 1 ถ้วยตวงใส่ในถ้วยของตนเอง
2. เด็กตักไข่ไก่คนละ ๅ ฟองใส่ในถ้วยของตนเอง
3. ให้เด็กๆนำนมสด 1 ถ้วยตวง ใส่ลงในถ้วยของตัวเอง พร้อมทั้งคนส่วนผสมให้เข้า
4. หลังจากนั้นให้เด็กๆ นำส่วนผสมทั้งหมดที่ตนเข้ากันเรียนร้อยแล้วไปเตรียมทอดในกระทะ ดดยมีครูเป็นผู้ดูแล
5. ให้เด็กๆเลือกว่าอยากทอดแพนเค้กเป็นรูปอะไร ระหว่าง พระอาทิตย์กับพระจันทร์
6. โดยให้ครูเป็นผู้ทอดเป็นรูปตามที่เด็กๆต้องการ
7. เมื่อทอดแพนเค้กเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เด็กๆนำแพนเค้กของตัวเองไปตกแต่งด้วยซอสต่างๆ
ซึ่งก่อนการที่เราจะทำกิจกรรมCooking เราต้องมีการทำแผ่นชาร์ต วัตถุดิบ เพื่อให้เด็กได้รับรู้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ชาร์ตสัดส่วน เป็นชาร์ตที่ใช้แสดงให้เด็กเห็นว่าเด็กต้องตักส่วนผสมเท่าไหร่จึงจะออกมาพอเหมาะ ชาร์ตขั้นตอนการทำ เป็นชาร์ตที่ใช้ในการบอกขั้นตอนการทำให้กับเด็ก ชาร์ตวางแผนตกแต่งไอศกรีม เป็นชาร์ตที่ทำการวางแผนที่จะตกแต่งไอศกรีมของเด็กๆแต่ละกลุ่ม
การวางแผนเช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน
Adoption
ซึ่งสามารถนำเอาหลักSTEMไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ในอนาคต เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการได้กับทุกวิชา ทำให้เราสามารถจัดการเรียนการสอนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Evaluation
ตนเอง : วันนี้เป็นคนคิดกิจกรรมcooking ว่ากลุ่ใเราจะทำอะไร ก็ได้ข้อสรุปมาเป็นการทำแพนเค้ก
เพื่อน : เพื่อนบางกลุ่มในห้องสนใจฟังอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดี มีการระดมความคิดในการหาเมนูสำหรับการมาทำcooking
อาจารย์ : ให้คำแนะนำระหว่างการเรียนการสอนตลอดเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น