วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

Learning Log 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Sience Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject


            เนื่องจากสัปดาห์ที่เเล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกาาไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มานำเสนอ เพื่อที่เราจะได้ไปทัศน์ศึกษากัน  สัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยมีทั้งหมด 4 สถานที่ ได้แก่ 
  1. อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  (กลุ่มตัวเอง)
  2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
  3. Coro Field อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
  4. อ่าวทุ่งโป่ง กองพันลาดตระเวน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี





               หลังจากนำเสนอสถานที่เรียนร้อยแล้ว อาจารย์ได้แจกกระดาษA4ให้กับนักศึกษาทุกคนคนละ 1 แผ่น และอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษาหาวิธีที่จะทำให้กระดาษของตนเองลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการพับที่เเตกต่างกันออกไป โดยที่ตัวเราได้พับเป็นเครื่องร่อน เพราะเราเคยเก็นว่าการที่จะทำให้กระดาษสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ก็คงต้องเป็นเครื่องร่อน เเต่เมื่อทำการทดลองเครื่องร่อนสามารถลอยในอากาศได้ในเวลานิดเดียวเท่านั้น

              ต่อมาอาจารย์เลยให้จับกลุ่ม และช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระดาษลอยในอากาศได้นานที่สุด โดยกลุ่มเราทำเป็นจรวด เเละพบว่าลอยอยู่ในอากาศได้เพียงไม่นานก็ตกลงสู่พื้น จากการสังเกตทั้ง 4 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่จรวดสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ใช้กระดาษเพียงครึ่งแผ่น ทำให้จรวดมีน้ำหนักเบา และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นาน จากการสรุปร่วมกัน ได้ว่าปัจจัยที่สามารถทำให้จรวดลอยอยู่ในอากาศได้นาน มีทั้ง องศาของการปา น้ำหนัก แรงส่งมี่ใช้ในการปาจรวด เป็นต้น

              ในครั้งสุดท้ายนี้ อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เราได้สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด กลุ่มเราจึงมีแนวคิดที่จะทำเป็นลูกยาง เนื่องจากเคยได้เห็นถึงการตกของลูกยาง ซึ่งก่อนที่ลูกยางจะตกลงสู่พื้น ลูกยางสามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นระยะเวลานาน เราจึงได้ทำการใช้กระดาษมาดัดแปลให้มีลักษณะตล้ายกับลูกยาง และเมื่อเราได้ทำการปล่อยกระดาษที่มีลักษณะคล้ายลูกยางลูกยางจากที่สูง ผลปรากฎว่า กระดาษนั้นสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานขึ้น




Adoption

   ทำให้เราทราบว่า การที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น 
          -ประสบการณ์เดิมของเด็ก
          -ท้องถื่นของเด็ก
          -การทดลองซ้ำๆ เป็นต้น 
ซึ่ปัจจัยเหล่านี้จะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นในอนาคตการที่เราจะสอนเด็กได้ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาเด็ก

Evaluation

-ประเมินตนเอง:  วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้เรียนรู้ เเละมีการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน
-ประเมินเพื่อน:   เพื่อนๆแต่ละคนให้ความสนใจในการทำกิจกรรมดีมาก มีการพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
-ประเมินอาจารย์:   อาจารย์ได้สอนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการถามคำถามใหเนักศึกษาได้ตอบ เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นให้เราเกิดการเรียนรู้และเกิดการจำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Leaning Log 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   Sience Experiences Management For Early Childhood ...